วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นักการเมืองยื่นปลา พระราชายื่นเบ็ด เเต่...พระราชาของฉันทำมากกว่านั้น


นักการเมืองยื่นปลา พระราชายื่นเบ็ด
เเต่.....
พระราชาของฉันทำมากกว่านั้น

  จากส่วนหนึ่งของบทกลอนที่เป็นที่กล่าวขวัญกันทั่วโลก Cyber
ทำให้ฉันนึกถึงเรื่องของปลานิลที่เพียงทราบมาคร่าวๆว่า
ทรงได้รับการทูลเกล้าพันธ์ปลานิลนี้
มาจากสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต 
เมื่อครั้งทรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้าชายอากิฮิโต 
มกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น


เเต่เมื่อสืบค้นฉันกลับพบว่า
ปลาหมอ ปลานิล เเละ ปลาทับทิมเป็นครอบครัวเดียวกัน
ยังไงหน่ะหรือค่ะ เรื่องเป็นมาดังนี้ค่ะ




เมื่อปี พ.ศ. 2495 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ มีพระราชดำรัส ให้
กรมประมงนำพันธุ์ปลาหมอเทศที่ได้จากปีนัง ประเทศมาเลเซีย
มาทดลองเลี้ยง ในสระน้ำพระที่นั่งอัมพรสถาน
ต่อมาได้พระราชทานลูกปลาหมอเทศ ให้แก่กำนันและผู้ใหญ่บ้านทั่วประเทศ 
เพื่อนำไปแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ปลาหมอเทศ 
จึงกลายเป็นปลาที่เป็นที่นิยมทั่วไป เนื่องจากเนื้อมาก เหมาะแก่การบริโภคและราคาถูก



 วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต 
เมื่อครั้งทรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้าชายอากิฮิโต มกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่นทูลเกล้าฯ 
ถวายลูกปลาสกุลเดียวกับปลาหมอเทศ ซึ่งเจริญเติบโตง่าย ทนทาน 
และออกลูกง่าย จำนวน 25 คู่ (50 ตัว) น้ำหนักตัวละประมาณ 14 กรัม ความยาว 9 เซนติเมตร 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชฯ 
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อซิเมนต์ 
ใกล้พระตำหนักที่ประทับสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต 
ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปเลี้ยงในบ่อดินขนาด 10 ตารางเมตร 
เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 5 เดือน ปรากฏว่าปลาชนิดนี้ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วมาก 

   วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า "ปลานิล
และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าว จำนวน 10,000 ตัว จากบ่อปลาสวนจิตรลดา 
ให้แก่กรมประมง เพื่อนำไปขยายพันธุ์ที่สถานีประมงของจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ 
แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แจกจ่ายแก่พสกนิกร รวมทั้งปล่อยลงตามแหล่งน้ำต่างๆ 
ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักทั่วโลกในนาม "ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา"
*เพิ่มเติม http://kumis.cpc.ku.ac.th/nk40/nk/non_busi/proj03.html


ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 ที่สถานีประมงน้ำจืดอุบลราชธานีพบการกลายพันธุ์ของปลานิล
ซึ่งขณะนั้นยังมีลักษณะสีของลำตัวของปลายังไม่เด่นชัดนัก 
โดยเฉพาะที่ส่วนหัวยังมีสีกระดำกระด่าง และอาศัยปะปนอยู่กับฝูงปลานิลธรรมดา 
จึงได้มีการพัฒนาสายพันธุ์จนมีสีเเดงที่นิ่งขึ้น

 วันที่ 2 มกราคม 2527 คุณวนิช วารีกุล อธิบดีกรมประมงในขณะนั้น 
ได้น้อมเกล้าฯ ถวายลูกปลานิลแดง 810 ตัว แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 
ซึ่งพระองค์ทรงเลี้ยงไว้ในบ่อวังสวนจิตรลดา ใช้เวลาเพียง 3 เดือน 
ก็ทรงพระราชทานลูกปลานิลแดง จำนวน 14,509 ตัว 
คืนแก่กรมประมงเพื่อนำไปเลี้ยงขยายพันธุ์ต่อไป

  ต่อมาเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ทำการพัฒนาใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงในน้ำทะเล
จนได้สายพันธุ์ปลาเนื้อเศรษฐกิจตัวใหม่ เเละได้รับชื่อพระราชทานว่า “ปลาทับทิม"


ย้อนกลับไปปีพศ. 2520 ทุกครั้งที่มีผู้นำปลานิลไปตั้งเครื่องเสวย  
จะโบกพระหัตถ์ให้ย้ายไปไว้ที่อื่น  โดยไม่รับสั่งอะไรเลย
จนวันหนึ่งมีผู้กล้าหาญชาญชัยกราบบังคมทูลถามว่า
"เพราะเหตุใดจึงไม่โปรดเสวยปลานิล"  มีกระแสรับสั่งว่า
"ก็เลี้ยงมันมาเหมือนลูก  แล้วจะกินมันได้อย่างไร"



พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ของฉันทำให้คนไทยยิ่งกว่าการยื่นเบ็ดมากมายนัก







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น